Categories
บทความ

เลื่อย ประเภทต่างๆ และการเลือกใช้

เลื่อย ประเภทต่างๆ และการเลือกใช้

เลื่อย ( Saw ) เป็นเครื่องมือพื้นฐานอีกอย่างหนึ่งสำหรับงานช่างในบ้าน ประโยชน์หลักๆก็คือ ใช้ตัดหรือซอยชิ้นงานให้ได้ขนาดตามต้องการ ปัจจุบันมีให้เลือกมากมายหลายชนิดสามารถแบ่งได้ตามวัสดุที่นำมาตัด เช่น เลื่อยไม้ หรือเลื่อยโลหะ

ดังนั้นการเลือกใช้เลื่อยให้เหมาะกับงานจึงเป็นเรื่องที่เราไม่ควรมองข้าม รวมถึงความชำนาญงานที่ต้องหมั่นฝึกปรือฝีมืออยู่เสมอ ตลอดจนเทคนิคต่างๆ เพื่อให้เราสามารถใช้เลื่อยได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นในที่นี้ขอกล่าวถึงเฉพาะ เลื่อย ที่นิยมใช้งานกันทั่วไปครับ

 

เลื่อยลันดา ( Hand Saw )

เราจะเห็นเลื่อยชนิดนี้กันบ่อยที่สุด เพราะสามารถใช้ได้ทั้งตัดและงานโกรกไม้ (ขึ้นอยู่กับคมฟันของเลื่อย)โดยฟันเลื่อยที่ค่อนข้างถี่ ( 10-12 ซี่ ต่อ 1 นิ้ว )ใช้สำหรับตัดขวางเนื้อไม้เพื่อให้เกิดรอยตัดที่เรียบ ส่วนฟันเลื่อยหยาบหรือฟันห่าง ( 5-6 ซี่ ต่อ 1 นิ้ว ) สามารถตัดไม้ได้อย่างรวดเร็ว เหมาะกับงานตัดตามแนวยาวของเนื้อไม้ โดยมีความยาวของใบเลื่อยให้เลือกใช้งานตั้งแต่ 14-28 นิ้ว ตามขนาดของหน้าตัดของไม้

เลื่อยลอ ( Dovetail Saw )

มีลักษณะคล้ายเลื่อยสันแข็งต่างกันที่ด้ามจับซึ่งเป็นด้ามยาว ฟันเลื่อยมีทั้งชนิดหยาบและละเอียด ใบเลื่อยกว้าง 2.5 นิ้ว ยาว 8 นิ้ว 10 นิ้วและ 12 นิ้ว ( แต่ที่นิยมใช้กันคือ 10 นิ้ว ) เหมาะสำหรับใช้บากปากไม้เพื่อทำเดือยเข้าไม้แบบต่างๆ และงานไม้ที่ต้องการความประณีตเป็นพิเศษ ควรใช้งานร่วมกับปากกาจับชิ้นงานเพื่อให้ทำงานได้สะดวกยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถใช้ร่วมกับกล่องตัดปรับมุมได้ด้วย

 

เลื่อยฉลุ ( Coping Saw )

คนส่วนใหญ่รู้จักดี เพราะนิยมใช้ทำงานประดิษฐ์ของนักเรียน ใบเลื่อยมีขนาดเล็กคล้ายเส้นลวด เวลาใช้งานต้องขึงใบเลื่อยกับด้ามและคันเลื่อยให้ตึง มักใช้กับงานไม้ที่มีส่วนโค้ง มีการฉลุลวดลาย และชิ้นงานที่มีขนาดไม่ใหญ่และหนามากนัก

 

 เลื่อยตัดเหล็ก ( Hack Saw )

มีลักษณะคล้ายเลื่อยฉลุ แต่คันเลื่อยโค้งไม่มาก การใช้งานส่วนใหญ่จะใช้ตัดโลหะทั่วไป อาทิ ตะปู นอต สกรู เหล็กฉาก หรือท่อพีวีซี แต่ถ้าเรานำไปเลื่อยไม้จะเลื่อยได้ช้ามาก เพราะฟันเลื่อยค่อนข้างละเอียดและไม่ลึกมีให้เลือกทั้งแบบความยาวตามมาตรฐาน 12 นิ้ว และแบบสามารถปรับความยาวตามขนาดใบเลื่อยได้ รวมถึงเลื่อยเหล็กมินิที่ใช้กับใบเลื่อยขนาด 12 นิ้ว เหมาะสำหรับงานที่มีพื้นที่จำกัด สามารถเปลี่ยนใบเลื่อยได้

 
 

เลื่อย หางหนู ( Wallboard Saw )

เลื่อยหางหนูหรือเลื่อยฉลุฝ้า ใช้เลื่อยตัดชิ้นงานเป็นแนวโค้ง วงกลมและลวดลายต่างๆ สามารถใช้เจาะฝ้าหรือผนังยิปซัมก็ได้ เพราะใบเลื่อยมีลักษณะเป็นแถบยาวปลายเรียวแหลมและคมมากสามารถถอดเปลี่ยนใบเลื่อยได้ นอกจากนี้ยังประยุกต์ใช้เป็นเครื่องมือตัดแต่งกิ่งไม้ที่เลื่อยขนาดใหญ่เข้าไม่ถึงได้อีกด้วย

 

เลื่อยคันธนู ( Bow Saw )

เป็นเลื่อยที่มีลักษณะคล้ายคันธนู เหมาะสำหรับใช้เลื่อยตัดกิ่งไม้ทั้งไม้สดและแห้ง หรือตัดต้นไม้เป็นท่อนๆเพื่อการเคลื่อนย้ายสำหรับงานก่อสร้าง ใบเลื่อยผลิตจากเหล็กกล้าและชุบแข็งที่ฟันเลื่อย จึงมีความคมและแกร่งเป็นพิเศษ สามารถตัดชิ้นงานได้ทั้งจังหวะเลื่อยขึ้นและลง โดยมีให้เลือกหลายขนาด อาทิ 12 นิ้ว21 นิ้ว24 นิ้วหรือ 30 นิ้ว

 

เลื่อย ตัดกิ่งไม้ ( Pruning Saw )

ใช้ตัดแต่งกิ่งไม้ ตัดก่อไผ่ ฯลฯ ด้วยลักษณะความโค้งของคมเลื่อยและฟันเลื่อย จึงทำงานได้อย่างสะดวกรวดเร็ว นอกจากนี้ยังสามารถตัดแต่งกิ่งไม้ในที่สูงได้ โดยต่อด้ามเลื่อยเข้ากับลำไม้ไผ่ แค่นี้เราก็ไม่ต้องปีนต้นไม้ให้เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุอีกด้วย

การดูแลรักษา

  • ขณะเลื่อยอย่าออกแรงกดใบเลื่อยมากเกินไป เพราะจะทำให้ใบและฟันเลื่อยบิดเบี้ยว และไม่ควรใช้เลื่อยผิดประเภท เช่น นำเลื่อยลันดาไปตัดแผ่นไม้ที่มีตะปูฝังอยู่ เพราะจะทำให้ฟันเลื่อยเสียหายได้ กรณีนี้ควรถอนตะปูออกก่อน
  • เลื่อยที่ผ่านการใช้งานมาแล้ว ควรทำความสะอาดด้วยการใช้ผ้าแห้งเช็ดเบาๆเพื่อเอาฝุ่นออกให้หมด และทาน้ำมันอเนกประสงค์เพื่อป้องกันสนิม (แต่อย่าให้ชุ่มมากเกินไป) จากนั้นเก็บเข้าแผงเครื่องมือ โดยเก็บให้พ้นมือเด็กด้วย

ที่มา https://www.baanlaesuan.com/56399/maintenance/saw

Categories
บทความ

10 เครื่องมือช่างยนต์ อุปกรณ์ช่างยนต์ ที่ควรมีติดร้าน

10 เครื่องมือช่างยนต์ อุปกรณ์ช่างยนต์ ที่ควรมีติดร้าน

    เครื่องมือช่างยนต์ (Auto machanic hand tools ) เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงานของช่าง เครื่องมือช่างยนต์ที่สำคัญมากสำหรับงานซ่อมรถยนต์การซ่อมแซม การดูแลรักษาปรับปรุงเครื่องยนต์ ให้มีประสิทธิภาพในการใช้งานได้เป็นอย่างดี เครื่องมือช่างยนต์แบ่งตามลักษณะการใช้งานได้ ดังนี้

1. แม่แรง เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยผ่อนแรงผู้ใช้ แม่แรงใช้สำหรับยกรถยนต์เมื่อต้องการถอดเปลี่ยนยาง เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง ตรวจตัวถังของรถยนต์ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถทำงานได้ง่ายขึ้นโดยไม่ก่อให้เกิดอันตราย การใช้แม่แรงต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าบริเวณที่ต่อกับคันยกแข็งแรง ไม่หักง่าย

2. ขาตั้งรถยนต์ เป็นการนำท่อนเหล็กมาวางรองไว้ใต้ท้องรถเฟื่องช่วยรับน้ำหนักหลังจากยกยกยนต์แล้ว ต้องใช้ทุกครั้งเมื่อยกด้วนแม่แรง ซึ่งลักษณะขาตั้งจะมีแบบเฟืองล็อค เดือยล็อค เกลียวล็อค ขนาด 1 ขา 2 ขา 3 ขา 4 ขา รับน้ำหนัก 1 ตันถึง 12 ตัน

3. เครื่องชาร์จแบตเตอรี่ เป็นการเติมกระแสไฟฟ้าให้กับแบตเตอรี่ กระแสชาร์จมีหลายขนาดให้เลือกใช้ ซึ่งการเลือกใช้นั้นถ้าต้องการชาร์จให้เร็วและไวควรเลือกกระแสชาร์จสูงๆ ส่วนกระแสชาร์จต่ำๆ ก็มีข้อดีเช่นกันค่อยๆประจุไฟเข้าแบตเตอรี่ช้าๆ อย่างต่อเนื่องซึ่งทำให้ประจุไฟแบตเตอรี่ได้ดีและทำให้แบตเตอรี่ไม่เสื่อมไว

4. บล็อกลม บล็อกไฟฟ้า เป็นเครื่องมือที่ให้กำลังสูง มีแรงบิดที่สามารถถอดหรือขันนอตที่ใช้ประแจขันไม่ได้ ส่วนใหญ่ถูกนำมาใช้สำหรับงานยานยนต์ งานประกอบ และงานซ่อมบำรุงเครื่องจักร

5. ประแจแหวนปากตาย ใช้สำหรับขันนอตหัวหกเหลี่ยม และหัวสี่เหลี่ยม เป็นประแจที่รวมเอารูปร่างและคุณสมบัติของประแจปากตายและประแหวนเข้าด้วยกันซึ่งด้านหนึ่งเป็นประแจแหวน อีกด้านหนึ่งเป็นประแจปากตาย

6. ประแจเลื่อน เป็นเครื่องมือสำหรับขันเกลียว นอต หรือ ยึด สามารถขันหรือหมุนเกลียวได้ทางใดทางหนึ่งและหมุนฟรีได้ในทิศทางตรงข้าม เหมาะสำหรับทำงานในพื้นที่แคบ

7. ประแจแอล เป็นประแจที่ใช้สำหรับสลักเกลียวที่ทำเป็นหัวกลมส่วนกลาง ทำเป็นรูหกเหลี่ยม ซึ่งใช้สำหรับงานสลักเกลียวปรับชิ้นงาน สลักเกลียวยึดเพลา ฯลฯ ขึ้นรูปหกเหลี่ยมและชุบแข็ง ทำเป็นรูปตัว L ขนาดปลายทั้งสองด้านเท่ากันและขนาดมาตรฐานเท่ากับรูที่หัวสลักสัมพันธ์กับแรงบิดที่ทำต่อเกลียว ข้อควรระวังในการใช้ประแจแอลคือ ความพอดีของแรงที่ใช้ในการ ขัน-คลาย เกลียวต้องไม่ทำให้เกลียวเสียหาย

8. คีมล็อก ใช้สำหรับจับชิ้นงานให้แน่นเป็นพิเศษกว่าคีมแบบอื่นๆ เพราะสามารถบีบชิ้นงานได้และขยายปากของคีมได้ตามขนาดของชิ้นงานด้วยการปรับที่สกรู แต่การใช้คีมล็อกบีบชิ้นงานจะทำให้ส่วนที่ใช้คีมล็อกจับเป็นรอย ถ้าจำเป็นต้องใช้ให้ใช้ด้วยความระมัดระวังและไม่ควรใช้คีมล็อกแทนประแจ

9. ประแจกากบาท เป็นประแจที่ใช้ขันล้อสำหรับการเปลี่ยนยางรถยนต์ ออกแบบมาสำหรับใช้กับรถโดยเฉพาะ

10. ไขควง มีลักษณะเหมือนไขควงที่ใช้กับงานช่างอื่น ๆ แต่ไขควงสำหรับงานช่างรถยนต์จะมีขนาดยาวกว่า เพื่อให้สามารถใช้งานในซอกหรือมุมที่มีพื้นที่แคบได้

ที่มา http://tool-car.lnwshop.com/article/3/10-เครื่องมือช่างยนต์-อุปกรณ์ช่างยนต์-ที่ควรมีติดร้าน

Categories
บทความ

กำจัดสนิมง่ายกว่าที่คิด

กำจัดสนิมง่ายกว่าที่คิด

สนิม อาจจะเรียกได้ว่าเป็นเจ้าตัวร้ายทำลายข้าวของเลยก็ว่าได้ และถือเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงยากตราบใดที่เรายังใช้เหล็กเป็นวัสดุ แต่ไม่ต้องกังวัลเยอะไปเพราะกว่าจะเกิดสนิมได้ก็ต้องใช้เวลาระยะหนึ่ง ซึ่งกระบวนการเกิดเจ้าสนิมค่อนข้างจะซับซ้อน โดยมีปัจจัยทำให้เกิดคือน้ำและออกซิเจนซึ่งมีทั่วไปในบรรยากาศโลก หากเกิดสนิทขึ้นแล้วกับของใช้ในบ้าน มาดูเคล็ดลับดีๆ ถึงวิธีกำจัดสนิมแบบง่ายๆ ออกจากของใช้ในบ้านกันเลย

สนิมกระทะ

ใช้เพียงสี่สิ่งนี้ก็เอาอยู่ น้ำส้มสายชู ฝอยขัดหม้อ กระทิชชูและน้ำมันทำอาหารที่มีติดครัว เริ่มด้วยการนำกระทะขึ้นสนิมตั้งไฟให้ร้อนเกิดควันเบาๆ ปิดไฟแล้วเทน้ำส้มสายชูลงไปพอประมาณ นำฝอยขัดหม้อขัดให้ทั่วที่สนิมเกาะตอนที่กระทะยังร้อนอยู่ เมื่อสะอาดแล้วซับด้วยกระดาษทิชชูที่เตรียมไว้หใ้แห้งสนิท แล้วเทน้ำมันลงในกระทะเล็กน้อย ใช้กระดาษทิชชูใหม่เช็ดถูกระทะให้ทั่ว เท่านี้เจ้าสนิมก็จะหลุดออกจากกระทะหมดสิ้น และน้ำมันก็เคือบกระทะให้ดูมันเงาเหมือนใหม่เลยทีเดียว กำจัดสนิมได้ง่ายกว่าที่คิด

สนิมซิงค์

วิธีนี้กำจัดสนิมได้ทั้งซิงค์สแตนเลสและซิงค์กระเบื้องเซรามิคที่เกิดเป็นคราบสนิม แต่ต้องใช้สารอันตรายมาเป็นตัวช่วยกันเล็กน้อย โดยผสมผงบอแรกซ์กับน้ำมะนาวให้ได้เนื้อสคลับเหนียวข้น นำไปป้ายที่คราบบนซิงค์ให้ทั่ว ทิ้งไว้ให้แห้งแล้วค่อยล้างออกด้วยน้ำสะอาด คราบนั้นก็จะหมดไปในทันที (เพราะเป็นสารอันตรายควรใส่ถุงมือและหน้ากากปิดจมูกเวลาทำ)

สนิมบนของใช้สแตนเลส

มีหอมใหญ่กับกระดาษทรายก็ช่วยได้ โดยการใช้กระดาษทรายขัดคราบสนิมออกกอ่อน แล้วหัวหอมหั่นครึ่งถูให้ทั่วบริเวณที่เกิดสนิม เสร็จแล้วล้างออกด้วยน้ำร้อนสนิมก็จะหลุดออก เป็นวิธีกำจัดสนิมที่สามารถทำได้เองง่ายๆ

สนิมประตูเหล็ก

เจ้าประตูเหล็กที่ต้องผ่านร้อนผ่านฝนในบรรยากาศบ้านเรานี่น่าสงสารจริงๆ ไม่แปลกหรอกหากจะมีน้องสนิมมาขออาศัยอยู่บ้าง แต่หากเราค่อยสักเกตุเห็นแล้วรีบแก้ไข เมื่อพบเห็นน้องสนิมมาเกาะประตูปุ๊บ เตรียมเลยจ้า ผงซักฟอก น้ำส้มสายชูและสก๊อกไบท์ พร้อมแล้วเริ่มกันเลย ใช้น้ำสะอาดราดตรงบริเวณที่มีคราบสนิมให้ชุมฉ่ำ โรยผงซักฟอกลงไปตามด้วยน้ำส้มสายชู จากนั้นก็ขัดด้วยสก็อตไบท์ ขัดไปจร้าขัดแบบไม่ต้องออกแรงหักโหม ใช้จังหวะพอดีๆ เดี๋ยวคราบก็จะค่อยๆ หลุดไปจนประตูเหมือนใหม่ทีเลยเดียว ส่วนกุญแจหากมีคราบสนิมด้วยก่อนขัดประตูก็นำกญแจแช่กับน้ำส้มสายชูไว้ก่อน พอขัดประตูเสร็จน้องสนิมก็โบกมือบ๊ายบายทั้งกุญแจและประตู ซึ่งเราจะเห็นผลของการกำจัดสนิมได้ในทันตา
 
สุดท้าย…หากบ้านไหนไม่ทำครัว ไม่ทำงานบ้านจึงทำให้ไม่มีวัตถุดิบตามที่แนะนำติดบ้านไว้ ตามห้างร้านเขาก็มีน้ำยากำจัดคราบสนิมจำหน่ายหาซื้อได้ทั่วไปนะจ๊ะ
 
Cr. https://www.homepro.co.th/homeguru/get-rid-of-rust-is-easier-than-you-think
Categories
บทความ

เครื่องมือช่างที่ทุกบ้านไม่พลาด

เครื่องมือช่างที่ทุกบ้านไม่พลาด

ว่าด้วยเรื่องงานช่าง เราอาจจะมองว่าเป็นเรื่องไกลตัว แต่อันที่จริงเป็นงานที่ใกล้ตัวที่เราไม่อาจมองข้ามได้ จึงจำเป็นที่เราควรมีความรู้ในเรื่องงานช่างพื้นฐาน โดยอย่างแรกคือ เรื่อง อุปกรณ์ของงานช่าง หรือ เครื่องมือช่าง ที่เราควรรู้จักอุปกรณ์และมีติดไว้ที่บ้าน

กล่องเครื่องมือช่าง

มีทั้งที่ทำจากเหล็กและพลาสติก กล่องเหล็ก ทนทาน แต่น้ำหนักมาก ใช้นานไปมักเป็นสนิม เหมาะ กับงานสมบุกสมบัน กล่องพลาสติกมีช่องและ ฟังก็ชันให้เลือกเยอะกว่า น้ำหนักเบา มีทั้งแบบไซ้งานเบา ๆ และใช้งาน หนักได้ หากมีเครื่องมือจำนวนมาก ขอแนะนำให้เลือกแบบมีล้อ เพี่อให้ เคลื่อนย้ายง่ายเมื่อใส่เครื่องมือจน เต็มกล่อง อาจใช้กล่องเครื่องมือช่างแบบธรรมดา วางบนแท่นรองที่มีล้อแทนก็ได้

ไขควงวัดไฟ

เครื่องมือช่างสำหรับความปลอดภัย เพื่อตรวจวัดกระแสไฟฟ้า ควรเลือกที่มีวัสดุฉนวนหุ้มทั้งตรงด้ามจับ และก้านไขควงซึ่งเป็นโลหะ เลือก ที่มีขนาดแรงดันไฟฟ้าเหมาะสำหรับ บ้านเราคือ 200 – 250 โวลต์ หากใช้ ไขควงสำหรับแรงดัน 80 – 125 โวลต์ จะรู้สึกว่ามีไฟรั่วผ่านไขควงเวลา แตะสัมผัส วิธีการใช้ไขควงลองไฟ ที่ถูกตองคือ ใช้ปลายไขควงแตะ วัตถุที่จะทดสอบก่อน แล้วจึงใช้นิ้ว แตะหุ้มด้านบนหรือตรงคลิปหนีบ เพี่อให้ไฟเดินครบวงจร ที่สำคัญ ต้องไม่ยืนอยู่บนพื้นที่เป็นฉนวน หรือใส่รองเท้า เพราะไฟอาจจะ ไม่ติด ทำให้เข้าใจผิดว่าไม่มีไฟรั่ว และห้ามนำไปใช้กับไฟฟ้าแรงดันสูง

ไขควงแบนและไขควงแฉก

เครื่องมือช่าง ชนิดแรกที่ทุกบ้านต้องมี โดยสิ่งที่ควรพิจารณาคือ ลักษณะด้าม ก้านไขควงและหัวไขควง ลักษณะด้าม ต้องลองจับให้กระชับ เหมาะมือ ไม่ลื่น และให้แรงขันได้ดี มิฉะนั้นจะทำให้เมื่อยมือ อย่างไขควง ด้ามพลาสติกหกเหลี่ยมที่มีขาย ทั่วไป มักใช้แล้วเจ็บและเมื่อยมือ ก้านไขควง มี 2 แบบ คือ ก้านกลม และก้านเหลี่ยม ก้านกลมใช้สำหรับ งานเบา ก้านเหลี่ยมใช้สำหรับงาน หนัก เพราะสามารถใช้คีมหรือ ประแจจับช่วยเพิ่มแรงบิดได้ หัวไขควง ตรงสวนหัวไขควงที่มี คุณภาพดีต้องทำจากเหล็กกล้าที่มี ความแข็งและทนทานสูง ซึ่งมีราคา แพง บางยี่ห้อมีการทำส่วนหัวเป็นสีดำ ซึ่งจะมีส่วนผสมของเหล็ก คาร์บอนสูงที่มีความแข็ง ส่วนไขควง เหล็กธรรมดาชุบโครเมียม จะมี ราคาถูกกว่า แต่มักบิ่นเสียรูปง่าย

เลื่อยอเนกประสงค์

ถ้าใครทำงานไม้และเหล็กแบบจริงจัง ควรมีเครื่องมือช่างอย่างเลื่อยสำหรับงานไม้และ เลื่อยสำหรับงานเหล็กโดยเฉพาะ แต่ถ้าเน้นใช้งานจิปาถะ แนะนำให้ เลือกเลื่อยอเนกประสงค์ขนาด กะทัดรัด ก็ใช้ตัดวัสดุได้หลายชนิด เช่น ไม้ อะลูมิเนียม ท่อพีวีซี ตะปู กระเบื้อง ขวดแก้ว ตอนซื้อควร ทดลองจับว่าถนัดมือไหม ตัวเลือก ใบเลื่อยล็อกได้แน่น และคันเลื่อยแข็งแรงไม่โก่งงอง่าย

เลื่อยเหล็ก

บางชิ้นงานตัด อาจจะใช้วัสดุเล็กๆ ไม่ได้ เลื่อยช่วยให้ตัดงานชิ้นใหญ่ๆ ได้ง่ายขึ้น การตัดสิ่งของในงานช่างไม่ใช่เรื่องง่ายเหมือนตัดกระดาษด้วยกรรไกร เครื่องมือช่างชนิดเลื่อยตัดโลหะจึงเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่ควรมีติดบ้านไว้เพื่อใช้ตัดสิ่งของที่ต้องการ รูปร่างเป็นโครงเหล็กสี่เหลี่ยมมีด้ามจับและมีใบเลื่อยหยักติดกับคันเลื่อยให้ตัดชิ้นงานได้สะดวก  

เลื่อยไม้

เป็นเลื่อยพื้นฐานของเครื่องมือช่างและงานไม้ทั่วไป แต่เป็นการตัดไม้ที่ต้องใช้เวลาพอสมควร เมื่อเทียบกับสมัยนี้ที่มีมือเลื่อยไฟฟ้า เป็นเลื่อยที่มีใบมีดขนาดใหญ่ทำด้วยโลหะแผ่นบาง มีฟันเป็นซี่ๆ ซึ่งฟันของซี่เลื่อยมีความแตกต่างกันตามความเหมาะสมกับการใช้งาน ที่สำคัญหลังใช้เสร็จควรทำความสะอาดใบมีด และควรตะไบตกแต่งฟันเลื่อยให้คมเสมอด้วยการทาด้วยน้ำมันเครื่อง

สิ่วเจาะ

เครื่องมือช่างสำหรับใช้เจาะช่องรูเดือย ตัวสิ่วมีความหนาแต่ความกว้างและความคมน้อยกว่าสิ่วปากบาง จึงต้องใช้ค้อนไม้ช่วย ใช้มือข้างหนึ่งจับด้าม อีกข้างหนึ่งจับคอนไม้ค่อยๆ ตอกให้สิ่วกินเนื้อไม้ทีละน้อยจนใกล้กับความลึกที่ต้องการแล้วแต่งร่องหรือรูอีกครั้งให้เรียบร้อย สิ่วปากบางหรือสิ่วแต่ง ใช้แต่งขูดผิวไม้หรือปากไม้ให้เรียบสิ่ว ประกอบด้วย ใบและด้าม ส่วนใบเป็นเหล็กกล้า แบนและบางแต่มีความคมมาก ใช้มือข้างหนึ่งจับด้ามสิ่ว ทำหน้าที่นำสิ่วไปข้างหน้า อีกมือหนึ่งจับตอนปากกลิ่ว เพื่อบังคับทิศทางของสิ่วไม่ให้เฉออกจากแนวที่ต้องการ สิ่วปากบางหรือสิ่วแต่ง ช้แต่งขูดผิวไม้หรือปากไม้ให้เรียบสิ่ว ประกอบด้วย ใบและด้าม ส่วนใบเป็นเหล็กกล้า แบนและบางแต่มีความคมมาก ใช้มือข้างหนึ่งจับด้ามสิ่ว ทำหน้าที่นำสิ่วไปข้างหน้า อีกมือหนึ่งจับตอนปากกลิ่ว เพื่อบังคับทิศทางของสิ่วไม่ให้เฉออกจากแนวที่ต้องการ

ไม้บรรทัดเหล็กฟุต

เครื่องมือช่างสำหรับตัดเส้นได้ตรงคงที่ ไม้บรรทัดเหล็กฟุตเป็นเครื่องมือช่างที่ทุกคนคุ้นเคย มันคือไม้บรรทัดที่เอาไว้วัดระยะและขีดเส้นในงานช่าง ความยาวของไม้บรรทัดเหล็กฟุตมีด้วยกันหลากหลายขนาด ซึ่งลักษณะก็ไม่ต่างจากไม้บรรทัดที่เราใช้งานกันทั่ว ๆ ไปเลย

ไม้ฉาก

เครื่องมือช่างสำหรับการวาดแบบ บนชิ้นงานก่อนนำไปดัด หรือการ ติดตั้งงานให้เข้ามุมได้ฉาก มีให้เลือก 2 แบบ คือ 1.ฉากตาย เป็นไม้ฉาก 90 องศา ที่ปรับมุมไม่ได้ 2. ฉากเป็น เป็นไม้ฉากที่ปรับมุม ได้ตามต้องการ สำหรับใช้สร้างมุม ตรวจสอบมุมของชิ้นงาน การตัด ชิ้นงานไม้ บัวไม้ ไม้เข้ามุม เดือยไม้ และวัดองศาตามความต้องการ

Cr. https://www.homepro.co.th/homeguru/mechanic-tools-household

Categories
บทความ

ช่างไม่ชุ่ย..ด้วยไอเดียเก็บเครื่องมือช่างให้หาง่าย ใช้สะดวก

ช่างไม่ชุ่ย..ด้วยไอเดียเก็บเครื่องมือช่างให้หาง่าย ใช้สะดวก

เครื่องมือช่าง อุปกรณ์จำเป็นที่ต้องมีติดบ้านไว้ใช้งานเมื่อตัวบ้านหรือของใช้ในบ้านเกิดการชำรุดเสียหาย บางบ้านมีเครื่องมือช่างชิ้นเล็กชิ้นน้อยสำหรับงานซ่อมแซมเล็กๆ น้อยๆ แต่ก็มีอีกหลายบ้านที่มีเครื่องมือช่างชิ้นใหญ่แบบช่างมืออาชีพที่ต้องการพื้นที่ในการจัดเก็บมาก

สิ่งสำคัญเมื่อต้องจัดสรรพื้นที่สำหรับจัดเก็บเครื่องมือช่าง

1. เลือกพื้นที่ให้เหมาะสม

สำหรับเรื่องพื้นที่จัดเก็บเครื่องมือช่างนั้น ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ช่างที่ต้องการใช้งาน เพราะงานช่างแต่ละแบบก็ใช้เครื่องมือช่างแตกต่างกัน การออกแบบพื้นที่สำหรับจัดเก็บจึงควรทำรายการอุปกรณ์ช่าง เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ ที่จำเป็นขึ้นมาก่อน นอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึงพื้นที่เหลือสำหรับการทำงานช่างให้เหมาะสมด้วย

2. โครงสร้างต้องแข็งแรง

เครื่องมือช่างบางชนิดมีน้ำหนักมาก เพื่อรองรับน้ำหนักของอุปกรณ์ช่างต่างๆ ที่นับวันจะมีแต่เพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ บริเวณที่ใช้จัดเก็บเครื่องมือช่างจึงจำเป็นต้องมีโครงสร้างที่แข็งแรง ทนทาน ซึ่งจะช่วยให้ทำงานช่างได้อย่างปลอดภัย และยังช่วยป้องกันความเสียหายจากโจรขโมย ลมฟ้าลมฝน หรือน้ำท่วม ที่อาจเกิดกับเครื่องมือช่างราคาแพงด้

3. จัดการระบบไฟฟ้า

เครื่องมือช่างหลายชนิดนั้นจัดเป็นเครื่องมือช่างไฟฟ้าที่ช่วยผ่อนแรงในการทำงาน แต่นั่นหมายถึงระบบไฟฟ้าที่เราต้องจัดการให้ดี การเดินไฟมาใช้ในการทำงานแบบลวกๆ อาจสะดวกแต่ไม่ปลอดภัย และอาจทำให้เกิดปัญหาฟืนไฟตามมาภายหลัง การวางระบบไฟฟ้าจึงจำเป็นต้องทำให้ถูกต้องตั้งแต่ต้น

4. ใส่ใจเรื่องแสงสว่าง

ไม่ว่าจะทำงานช่างหรืองานอะไรก็ตาม ล้วนต้องอยู่ภายใต้สภาพแสงที่เหมาะสม โดยงานที่ต้องอาศัยแสงธรรมชาติก็ต้องเลือกพื้นที่ทำงานและจัดเก็บให้ตอบสนองต่อทิศทางของแสง ส่วนแสงสว่างจากหลอดไฟ นอกจากจะต้องมีความสว่างมากเพียงพอกับสายตาแล้วยังต้องใช้แสงที่ใกล้เคียงกับธรรมชาติด้วยครับ

5. เน้นเรื่องอากาศถ่ายเท

เป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในพื้นที่จำกัดอย่างห้องทำงานและเก็บเครื่องมือช่าง เพราะงานช่างแต่ละงานมักมีส่วนเกี่ยวข้องกับสารเคมี ไม่ว่าจะเป็นสีสเปรย์ แล็กเกอร์ น้ำมันสน ฯลฯ จึงต้องเน้นให้มีอากาศถ่ายเท ให้สารเคมีไม่สะสมอยู่ในห้อง และกลายเป็นสารพิษให้โทษเมื่อสูดดมเข้าไป

6. ใช้โต๊ะทำงานตัวเก่ง

ไม่ว่าจะเป็นงานช่างประเภทไหน การมีโต๊ะทำงานที่แข็งแรง มีความกว้างเพียงพอ และขนาดเหมาะสมรับกับสัดส่วนร่างกายของผู้ใช้งานจะช่วยให้ทำงานได้อย่างสะดวกสบาย ให้ชั่วโมงการทำงานที่ยาวนานออกมาอย่างมีประสิทธิภาพ

7. พื้นที่จัดเก็บเพียงพอต่อการใช้งาน

การจัดสรรพื้นที่เพื่อเก็บเครื่องมือช่างควรคำนึงถึงอนาคตด้วย โดยเตรียมพื้นที่ให้ครอบคลุมอุปกรณ์ช่างต่างๆ ให้ครบถ้วนและเพียงพอ เพราะเครื่องมือช่างแต่ละชนิดมีลักษณะแตกต่างกัน วิธีการจัดเก็บก็แตกต่างกันออกไปด้วย และต้องไม่ลืมพื้นที่สำหรับรองรับเศษวัสดุและขยะด้วยครับ เมื่อพูดถึงการจัดสรรพื้นที่สำหรับจัดเก็บเครื่องมือช่างแล้ว หากไม่มีการจัดระเบียบที่ดีอาจทำให้เกิดอันตรายหรือทำให้อุปกรณ์ช่างสึกหรอได้ง่าย รวมทั้งปัญหาเครื่องมือช่างหาย หรือมีไม่ครบ โดยเฉพาะเครื่องมือช่างชิ้นเล็กชิ้นน้อยที่ยสำคัญต่อการทำงาน ซึ่ง HomeGuru มีไอเดียอุปกรณ์จัดเก็บที่จะช่วยแก้ปัญหายุ่งเยิงน่าหงุดหงิดเหล่านี้ครับ

เครื่องมือช่างชิ้นเล็กที่ใช้งานบ่อย

อุปกรณ์ช่างที่ใช้งานบ่อยๆ ชิ้นเล็กชิ้นน้อย อย่างไขควง ประแจ ฯลฯ อาจใช้วิธีแยกประเภทและจัดเก็บด้วยการแขวนผนังเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย หาง่าย ใช้ง่าย และที่สำคัญคือการจัดเก็บแบบนี้จะช่วยให้ประหยัดพื้นที่ได้มาก อาจเลือกเป็นผนังห้องสักด้าน หรือแม้แต่หลังบานประตูที่ว่างอยู่ก็สามารถทำได้ แต่ทั้งนี้หากต้องการให้เครื่องมือช่างเหล่านี้สามารถนำออกไปใช้งานภายนอกได้ง่าย อาจเลือกใช้อุปกรณ์จัดเก็บแบบมีช่องแบ่งพร้อมหูหิ้วเพื่อให้พกพาสะดวกขึ้นก็ได้ครั

Cr. https://www.homepro.co.th/homeguru/ideas-for-keeping-mechanic-tools

Categories
บทความ

งานเลื่อย 8 ประเภท ที่ควรมีติดบ้านไว้เรื่อยๆ

งานเลื่อย 8 ประเภท ที่ควรมีติดบ้านไว้เรื่อยๆ

งานเลื่อย หากต้องการทำงาน DIY หรือ งานช่างสักงานคงเป็นอุปกรณ์หลักที่ขาดไม่ได้เลย แต่หลายๆบ้านเป็นกังวล แม้ว้าเลื่อยจะเป็นอุปกรณ์พื้นฐาน แต่ปัญหาคือไม่รู้ว่าจะเลือกใช้เลื่อยประเภทไหนให้เหมาะกับ การใช้งานเลื่อย ที่แตกต่างกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 

ประเภทของเลื่อย เลือกอย่างไรให้เหมาะกับงานช่าง

เลื่อยลันดา (Hand Saw)

คุณพ่อบ้านแทบทุกบ้านที่ชอบงานเลื่อย ต้องรู้จัก และมี เลื่อยลันดา ติดบ้านไว้ใช้สอย ด้วยลักษณะของเลื่อยลันดาที่มีลักษณะเป็นแผ่น โคนใหญ่ปลายเรียว และมีซี่ฟันที่เรียงกันเป็นระเบียบตลอดความยาวของใบเลื่อย และมีมือจับ จึงทำให้เหมาะกับงานช่างไม้ และงานช่างก่อสร้าง โดยใช้สำหรับเลื่อยตัดซอยแปรรูปไม้ได้อย่างสะดวกสบาย ส่วนใหญ่แล้วเลื่อยลันดาจะมีความยาวให้เลือกใช้ตั้งแต่ 16-24 นิ้ว ตามความเหมาะสม เช่น
  • เลื่อยลันดาชนิดตัด มีความถี่ของฟันประมาณ 8-12 ซี่ ใช้สำหรับไม้ตามขวางของเสี้ยนไม้
  • เลื่อยลันดาชนิดโกรก ใช้สำหรับโกรกหรือผ่าไม้ ความเอียงของฟันเลื่อยจะมีองศาที่เอียงมากกว่าเลื่อยตัด มีจำนวนฟันประมาณ 5-8 ซี่

เลื่อยหางหนู (Keyhole Saw)

สำหรับใครที่ชอบทำงาน DIY ประเภทงานฉลุ หรือเลื่อยส่วนโค้งที่มีความยาวไม่มากนัก อย่างการเลื่อยส่วนโค้งเพื่อประกอบรูปทรงเฟอร์นิเจอร์ หรือใช้เจาะฝ้า ผนังยิปซัม เลื่อยหางหนู หรือหลายๆ คนเรียกว่า เลื่อยฉลุ ฝ้าสามารถใช้งานได้ เพราะด้วยลักษณะของตัวเลื่อยที่มีขนาดไม่ใหญ่มากนัก ลักษณะใบเลื่อยยาวไปจนถึงด้ามจับ ปลายเรียวแหลมและคมมาก โดยสามารถถอดเก็บ และเปลี่ยนใบเลื่อยได้ จึงทำให้ งานเลื่อย สะดวกสบายในการใช้งาน หรือบางบ้านอาจจะนำไปเป็นเครื่องมือตัดแต่งกิ่งไม้เลื้อยได้อีกด้วยครับ

เลื่อยตัดเหล็ก หรือเลื่อยมือ (Hack Saw)

เลื่อยชนิดนี้เหมาะสำหรับ งานเลื่อย หรืองาน DIY ที่เน้นตัดโลหะเป็นส่วนมาก เช่น น็อต ตะปู เหล็กฉาก สกรู หรือท่อพีวีซี การใช้งานเลื่อย ไม่เหมาะกับงานไม้ เพราะฟันของเลื่อยค่อนข้างละเอียด ใบเลื่อยทำด้วยเหล็กกล้ามีความเหนียวมาก ปลายสุดของใบเลื่อยมีรูสำหรับยึดกับตัวเลื่อย เพื่อบังคับให้เลื่อยมีความแน่นยิ่งขึ้น โดยส่วนใหญ่แล้วเลื่อยจะมีขนาดความยาว 12 นิ้ว และสามารถถอดเก็บหลังการใช้งานได้

เลื่อยฉลุ (Coping Saw)

หากต้องการสร้างงาน DIY ด้วยลวดลายบนไม้เลื่อยฉลุเป็นตัวเลือกที่ดีที่นิยมใช้กันมาก ส่วนใหญ่จะนำมาใช้ฉลุไม้ งานตัดมุมโค้ง มุมแคบ เหมาะกับงานชิ้นไม่ใหญ่ เพราะลักษณะของเลื่อยมีขนาดบาง และเล็ก ใบเลื่อยมีความอ่อนตัว เหมือนเส้นลวด การใช้งานเลื่อย จึงต้องขึงใบเลื่อยกับด้าม และคันเลื่อยให้ตึงก่อนใช้งานทุกครั้ง และเมื่อใช้งานเสร็จแนะนำให้คลายความตึงของใบเลื่อยทันทีก่อนเก็บเข้าที่ครับ

เลื่อยคันธนู (Bow Saw)

คุณพ่อบ้าน และคุณแม่บ้านที่ชอบทำสวน ไม่ควรมองข้าม งานเลื่อย และควรมี เลื่อยคันธนูไว้ติดบ้าน เพื่อใช้สำหรับเลื่อยตัดกิ่งไม้ ทั้งไม้สดและไม่แห้ง หรือจะใช้ตัดลำต้นไม้ขนาดเล็ก เพื่อตกแต่ง รวมถึงใช้ทำเป็นไม้ฟืน ลักษณะของตัวเลื่อยมีความคล้ายกับคันธนู ใบเลื่อยมีความแกร่ง และความคมเป็นพิเศษเพราะผลิตจากเหล็กกล้า และชุบแข็งที่ฟันเลื่อย ขนาดกะทัดรัด น้ำหนักเบา พกพาได้สะดวก มีให้เลือกใช้หลากหลายขนาดขึ้นกับความต้องการใช้งาน อาทิ 12 นิ้ว 21 นิ้ว 24 นิ้ว และ 30 นิ้ว เลยครับ

เลื่อยโค้งตัดกิ่งไม้ (Pruning Saw)

ไม่ต้องเสียเวลาจ้างคนดูแลสวนให้สวยเนียนกริบในทุก ๆ อาทิตย์ เพียงแค่มีเลื่อยโค้งตัดกิ่งไม้ ก็สามารถตัดแต่งกิ่งไม้ หรือตัดก่อไผ่ให้บ้านไม่รกได้แล้วนะครับ ด้วยลักษณะของตัวเลื่อยที่มีลักษณะโค้ง ใบเลื่อยทำจากเหล็กชุบแข็งให้ความแข็งแรง และทนทาน ฟันเลื่อยแต่ละซี่มีความถี่จึงทำให้รอยการตัดละเอียด แถมน้ำหนักเบา ง่ายต่อการใช้งานอีกด้วยครับ

หากต้องการตัดแต่งกิ่งไม้ในที่สูง การใช้งานเลื่อย ก็ง่ายนิดเดียวครับเพียงต่อด้ามเลื่อยเข้ากับลำไม้ไผ่ ก็ช่วยให้สะดวกสบาย และไม่เป็นอันตรายระหว่างใช้งานอีกด้วยครับ

เลื่อยพลูซอ (Pull Saw)

เลื่อยพลูซอ เป็นเลื่อยอเนกประสงค์ที่สามารถพกพาไว้ในกระเป๋าสำหรับเดินทางไปแคมป์ปิ้ง และใช้งานสำหรับตกแต่งกิ่งไม้ งานพลาสติก และงาน PVC ที่มีขนาดไม่หนามาก หรือใช้กับงานเฟอร์นิเจอร์ ลักษณะของเลื่อยมีขนาดเล็ก สามารถพับเก็บได้ ตัวฟันเลื่อยเป็นแบบฟันดึง แม้ใบเลื่อยจะสั้น แต่มีความคมของใบเลื่อยสูง ทำให้ตัดแต่งกิ่งไม้ได้อย่างรวดเร็ว ถือเป็นเลื่อยอีกประเภทหนึ่งที่ควรมีไว้ติดบ้าน และทำงาน DIY หรือ งานเลื่อย ได้อย่างสะดวกและรวดเร็วนะครับ

เลื่อยบังตอ หรือเลื่อยลอ (Dovetail Saw)

งานที่ประณีตการใช้ เลื่อยบังตอ จะช่วยให้งานมีความละเอียดเป็นพิเศษมากขึ้น ลักษณะของเลื่อยคล้ายคลึงกับเลื่อยสันแข็ง แต่ด้ามจับจะเป็นด้ามยาว ใบเลื่อยมีให้เลือกความยาวหลายขนาดขึ้นอยู่กับความต้องการส่วนใหญ่แล้วจะนิยมใช้ 10 นิ้ว มากกว่า 8 นิ้ว และ 12 นิ้ว การใช้งานแนะนำให้ใช้ร่วมกับปากกาจับชิ้นงานเพื่อให้ใช้งานได้สะดวกยิ่งขึ้น หรือใช้ร่วมกับกล่องตัดปรับมุมก็ได้ครับ

ควรทำความสะอาดด้วยแปรงบริเวณใบเลื่อยเพื่อให้เศษขี้เลื่อยหลุดออกจากฟันเลื่อย และป้องกันการเกิดสนิมด้วยการทาน้ำมันป้องกันสนิม และไม่ควรใช้น้ำยาที่มีฤทธิ์เป็นกรด-ด่าง ในการทำความสะอาด

หากต้องการให้เลื่อยคมอยู่เสมอ แนะนำให้ใช้ตะไบตกแต่งฟันเลื่อยให้คม โดยเลือกตะไบที่พอดีกับฟันเลื่อย ที่สำคัญไม่ควรเก็บไว้ในที่ชื้น เพื่อป้องกันการเกิดสนิมนะครับ

Cr. https://www.homepro.co.th/homeguru/8-types-of-saw-work-that-should-be-kept-at-home

Categories
บทความ

เลื่อยมีหลายชนิด เลือกใช้อย่างไรให้เหมาะสม

เลื่อยมีหลายชนิด เลือกใช้อย่างไรให้เหมาะสม

          สำหรับนายช่างประจำบ้าน หรือพ่อบ้านสายงานช่าง โดยเฉพาะคนที่ชอบงานไม้ หรืองานประดิษฐ์ ประกอบเฟอร์นิเจอร์เอง เครื่องมือช่างไม้ที่ขาดไม่ได้เลยเห็นจะเป็น เลื่อย แต่เลื่อยที่มีวางจำหน่ายมากมายอยู่ตามท้องตลาดก็อาจสร้างความสับสนให้กับช่างหรือผู้ใช้งานมือใหม่ได้ เพราะมีหลายรูปแบบหลายประเภทเสียเหลือเกิน มีทั้งขนาดเล็ก ขนาดใหญ่ ไหนจะรูปร่างและราคาที่แตกต่างกัน ครั้นจะซื้อมาใช้ทันทีก็ดูจะใช่เหตุจนเกินไป ดังนั้น ในบทความนี้พี่ไทจะชวนทุกคนมาทำความรู้จักเลื่อยประเภทต่าง ๆ รวมไปถึงวิธีการใช้งาน อ่านจบแล้ว จะสามารถออกจากบ้านไปซื้อเลื่อย ได้ตรงความต้องการแน่นอนครับ

 

1. เลื่อยลันดา

          เชื่อได้ว่าภาพจำในหัวของทุกคนเมื่อพูดถึงคำว่าเลื่อย ภาพของเลื่อยลันดาน่าจะขึ้นมาเป็นอันดับแรก แม้ว่าเราอาจจะไม่ทราบเลยก็ได้ว่าเลื่อยชนิดนี้มีชื่อเรียกว่าเลื่อยลันดา เลื่อยประเภทนี้ เป็นเลื่อยขนาดยาวที่มีด้ามจับอยู่ทางด้านบนของตัวเลื่อย นิยมใช้สำหรับตัดขวางตามเนื้อไม้ เพื่อให้เกิดรอยตัดที่เรียบ หรือตัดตามแนวยาวของเนื้อไม้ก็สามารถทำได้ ตามแต่ความถนัดในการใช้งาน ใบเลื่อยทำมาจากใบเหล็กแผ่นบางปลายเรียว โดยมีขนาดตั้งแต่ 14 – 28 นิ้ว ให้เลือกใช้งานตามความเหมาะสม
 

2. เลื่อยปังตอ

          เป็นเลื่อยที่ทำด้วยเหล็กแบนบางแต่แข็ง ใช้ในการบากปากไม้ เพื่อทำเดือยให้ไม้ 2 ชิ้น สามารถต่อกันได้ ซึ่งเป็นงานที่ต้องใช้ความปราณีตมากเป็นพิเศษ จึงส่งผลให้เลื่อยปังตอมีการทำฟันเลื่อยอย่างละเอียด และมีความคมเป็นอย่างมาก ฟันเลื่อยปังตอมีให้เลือก 2 ชนิด คือหยาบและละเอียด ความยาวใบเลื่อยจะมีขนาดตั้งแต่ 8 นิ้ว , 10 นิ้ว และ 12 นิ้ว

3. เลื่อยตัดกิ่งไม้

          เป็นเลื่อยที่มีไว้ใช้ตัดกิ่งไม้ตรงตามชื่อเลย ดังนั้น เลื่อยจึงมีลักษณะที่โค้ง เพื่อให้รับกับกิ่งไม้ ช่วยให้สะดวกในการใช้งาน และตัดกิ่งไม้ได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังมีการประยุกต์การใช้งานแบบไทย ๆ ด้วยการนำเลื่อยตัดกิ่งไม้มาต่อด้ามจับให้ยาวขึ้นกว่าเดิมเพื่อให้ตัดกิ่งไม้ที่อยู่ในที่สูงที่ไม่สามารถเอื้อมถึง หรือเลื่อยตัดกิ่งไม้ที่มาพร้อมด้ามจับยืดหดปรับความยาวได้ก็มีขายเช่นเดียวกัน

4. เลื่อยฉลุ

          เลื่อยฉลุเป็นเลื่อยที่ใช้กับงานไม้ที่เราน่าจะคุ้นเคยและได้ยินชื่อกันมาตั้งแต่เด็ก เพราะเป็นเลื่อยที่ต้องใช้ในการทำงานประดิษฐ์ของนักเรียน ซึ่งนอกจากใช้ในงานประดิษฐ์รูปแบบต่าง ๆ แล้ว ยังเหมาะสำหรับการทำลวดลายลงบนไม้ ใบเลื่อยมีขนาดค่อนข้างเล็กมากเหมือนเส้นลวด จึงมีความอ่อนตัวมากเป็นพิเศษ ต้องใช้งานด้วยความระมัดระวัง โดยเวลาใช้งานต้องขึงใบเลื่อยกับด้ามและคันเลื่อยให้ตึงพอดี ไม่ตึงเกินไปและไม่หย่อนเกินไป เพื่อเสริมประสิทธิภาพในการใช้งาน

5. เลื่อยคันธนู

          เป็นเลื่อยลักษณะคล้ายคันธนู ใช้สำหรับเลื่อยตัดแต่งกิ่งไม้ ตัดลำต้นต้นไม้ ตัดไม้ทำฟืน หรือตัดให้เป็นท่อน ๆ เพื่อให้เกิดความสะดวกในการเคลื่อนย้าย โครงเลื่อยคันธนูผลิตจากเหล็กจึงมีความแข็งแรง ทนทาน ใบเลื่อยก็เช่นเดียวกันผลิตจากเหล็กที่มีคุณภาพ ทำให้ฟันเลื่อยมีความคมมากเป็นพิเศษ การใช้งานจึงสามารถทำได้อย่างรวดเร็ว เลื่อยคันธนูมีให้เลือกใช้หลายขนาด ตั้งแต่ 12 นิ้ว, 21 นิ้ว, 24 นิ้ว และ 30 นิ้ว
 

6. เลื่อยตัดเหล็ก

          เป็นเลื่อยที่ใช้สำหรับตัดวัสดุต่าง ๆ ที่เป็นเหล็ก โลหะ รวมไปถึงท่อพีวีซี เมื่อเกิดการสึกหลอบริเวณใบเลื่อยจะสามารถถอดเปลี่ยนได้คล้ายกับเลื่อยฉลุ แต่ไม่สามารถนำไปใช้ตัดไม้ได้เพราะนอกจากจะตัดได้ช้าแล้ว ตัวใบเลื่อยจะเกิดความเสียหาย โดยใบเลื่อยตัดเหล็กนี้ จะมีหลายรูปแบบให้เลือกใช้งานตามความแข็งของวัสดุที่ต้องการจะตัด โดยมีให้เลือกทั้งแบบใบเลื่อยฟันหยาบและใบเลื่อยฟันละเอียด

 

7. เลื่อยฉลุฝ้า

          เลื่อยฉลุฝ้า หรือ เลื่อยหางหนู นิยมใช้ในการเจาะแผ่นฝ้า ผนังยิปซัม หรือใช้เลื่อยชิ้นงานเป็นแนวโค้ง หรือวงกลม ประกอบรูปทรงเฟอร์นิเจอร์ เพราะด้วยลักษณะของตัวเลื่อยที่มีขนาดไม่ใหญ่มาก และมีใบเลื่อยยาว มีความคม ปลายเรียวเล็กแหลม ทำให้เหมาะกับการใช้งานในรูปแบบดังกล่าว โดยสามารถถอดเก็บและเปลี่ยนใบเลื่อยได้ นอกจากนี้ยังสามารถประยุกต์มาเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการตัดแต่งกิ่งไม้ที่เข้าถึงได้ยากได้อีกด้วย

 

          ทั้งหมดนี้คือเลื่อยทั้ง 7 แบบที่พี่ไทเลือกมานำเสนอ ซึ่งไม่ว่าจะเลือกใช้งานเลื่อยชนิดใดก็ตาม พี่ไทขอแนะนำให้นำเลื่อยไปใช้งานให้ถูกวิธีตามที่ได้ระบุไว้ เพื่อป้องกันการเสื่อมสภาพที่อาจเกิดขึ้นตามมา รวมไปถึงการทำความสะอาดอยู่เป็นประจำเพื่อยืดอายุการใช้งาน โดยนอกจากเลื่อยทั้งหมดที่กล่าวมายังมีเลื่อยขนาดใหญ่อย่างเลื่อยไฟฟ้า เลื่อยวงเดือน เลื่อยจิ๊กซอว์ ซึ่งเป็นเลื่อยที่เหมาะกับงานช่างที่มีสเกลใหญ่มากขึ้น ยังไงในโอกาสหน้าพี่ไทจะเลือกมานำเสนอให้ได้ทำความรู้จักกันนะครับ
 
Cr. https://www.thaiwatsadu.com/th/articles/type-of-saw
Categories
บทความ

เครื่องมือช่าง (เลื่อย)

เครื่องมือช่าง (เลื่อย)

เครื่องมือช่าง (เลื่อย) - Sawing Tools
 

เครื่องมือตัด เลื่อย และขวานอยู่ในเครื่องมือประเภทนี้ ซึ่งใช้สำหรับตัดเนื้อไม้ออกไม้ โดยเลื่อยมักมีรอยหยักเป็นฟันแหลมคม ใช้ลากขึ้นลงพื่อให้ฟันเลื่อยเข้าไปเฉือนเนื้อไม้ออกทีละน้อยจนไม้แยกออกจากกัน ส่วนขวานใช้สำหรับสับ และถากไม้เนื้อไม้ขาดออกจากกัน ปัจจุบันมีเลื่อยยนต์ที่ใช้สำหรับตัดไม้ช่วยลดระยะเวลาการเลื่อยไม้ได้มาก ทั้งยังได้แนวไม้ที่ตรงสม่ำเสมอ

Cr. https://accl.cmu.ac.th/Museum/contentdetail/2256


Categories
บทความ

9 คุณสมบัติของสว่านไฟฟ้า ที่คุณต้องรู้ก่อนใช้งาน

9 คุณสมบัติของสว่านไฟฟ้า ที่คุณต้องรู้ก่อนใช้งาน

สว่านไฟฟ้า เป็นเครื่องมือไฟฟ้าที่มีประโยชน์มากในปัจจุบัน ที่ช่างไม้และเหล่า DIY ทุกคนต้องมี ช่วยในการเจาะรู ดึงสกรู และมีประโยชน์ในการใช้งานอื่นๆไม่ว่าจะเป็น การแขวนรูปภาพที่ผนัง ประกอบเฟอร์นิเจอร์ และอีกมากมาาย สว่านไฟฟ้าขึ้นชื่อในเรื่องความเร็ว พลัง ชั่วโมงการทำงานที่ยาวนานขึ้น คุ้มราคา และเบากว่าอุปกรณ์ไร้สายนั่นเอง ก่อนที่จะลงทุนในสว่านไฟฟ้า เราขอแนะนำให้คุณพิจารณาคุณสมบัติสำคัญต่อ สว่านไฟฟ้า เพื่อให้คุณได้สว่านไฟฟ้าที่ดีที่สุด สำหรับการใช้งานของคุณ

สว่านไฟฟ้า

พลังงาน

สว่านไฟฟ้า เสียบเข้ากับเต้ารับไฟฟ้าโดยตรงเพื่อให้ใช้งานได้ กำลังมอเตอร์วัดเป็นแอมป์ ซึ่ง สว่านไฟฟ้าที่มีมอเตอร์ของแอมป์ที่สูงกว่าจะมีประสิทธิภาพมากกว่า และสามารถเจาะรูได้อย่างแม่นยำในเวลาที่น้อยลง ตามงานที่คุณกำลังทำอยู่ คุณต้องเลือกกำลังของมอเตอ ร์สว่านไฟฟ้า ใช้ สว่านไฟฟ้า กับมอเตอร์ 5 แอมป์สำหรับเจาะวัสดุที่มีน้ำหนักเบา ในขณะที่เจาะวัสดุแข็ง ให้ใช้ สว่านไฟฟ้า ที่มีมอเตอร์ 8 ถึง 10 แอมป์นั่นเอง

ขนาดหัวจับ

หัวจับที่ด้านหน้าของ สว่านไฟฟ้า ที่ใช้ยึดดอกสว่านเข้าที่ อย่างไรก็ตามหัวจับมีหลายขนาด และตรวจสอบให้แน่ใจว่าได้เลือกดอกสว่านที่มีขนาดเท่ากัน หรือเล็กกว่าหัวจับดอกสว่าน และขนาดหัวจับที่ใช้กันทั่วไปมีอยู่ 3 ขนาด

  • ขนาดหัวจับ 1/4 นิ้ว เหมาะสำหรับสว่านงานเบา
  • ขนาดหัวจับ 3/8 นิ้ว เหมาะสำหรับการฝึกซ้อมทั่วไป เช่น งานปรับปรุงบ้าน
  • ขนาดหัวจับ 1/2 นิ้ว เหมาะสำหรับสว่านงานหนัก และงานอุตสาหกรรม

ขนาดหัวจับของ สว่านไฟฟ้า จะช่วยให้คุณทราบขนาดดอกสว่านที่รองรับที่กำหนด โดยปกติขนาดหัวจับที่ใหญ่กว่าจะให้ประสิทธิภาพการเจาะที่ดีกว่าขนาดที่เล็กกว่า หลังจากเลือกขนาดหัวจับที่เหมาะสมแล้ว เราต้องตรวจสอบว่าหัวจับแบบไม่มีกุญแจ หรือแบบใช้กุญแจ ในที่นี้ ชิ้นส่วนที่ใส่กุญแจต้องใช้เครื่องมือพิเศษในการคลายหรือขันหัวจับให้แน่นเพื่อเปลี่ยนดอกสว่าน ในขณะที่หัวจับแบบไม่ใช้กุญแจให้คุณหมุนได้โดยใช้มือขันให้แน่น หรือคลายหัวจับนั่นเอง 

หัวจับ สว่านไฟฟ้า

ความเร็วในการหมุน

จำนวนรอบการหมุนเต็มของสว่านไฟฟ้าต่อนาที (RPM) ถูกกำหนดเป็นความเร็วในการหมุน ช่วงความเร็วในการหมุนของสว่านไฟฟ้าจะอยู่ที่ 200-2000 รอบต่อนาที สว่านไฟฟ้า ที่มีความเร็วรอบ 500-1,000 รอบต่อนาทีก็เพียงพอแล้วสำหรับงาน DIY ในบ้านและรอบๆ บ้าน 

สว่านไฟฟ้า จะมีความเร็วสองระดับ ความเร็วต่ำและความเร็วสูง หรือคันโยกปรับความเร็วรอบที่ให้คุณเลือกความเร็วได้ โปรดทราบว่าความเร็วที่ต่ำกว่าจะดีกว่าสำหรับการขันสกรูเนื่องจากแรงบิดที่สูงกว่า ในขณะที่ความเร็วที่สูงกว่านั้นดีกว่าสำหรับการเจาะรู

ฟังก์ชั่นย้อนกลับ

สว่านไฟฟ้า เกือบทุกรุ่นมาพร้อมกับฟังก์ชันย้อนกลับนี้ ช่วยให้คุณหมุนดอกสว่านออกจากรูได้ง่ายขึ้น สว่านไฟฟ้า ส่วนใหญ่มีคุณสมบัตินี้ในรูปแบบของปุ่มซึ่งอยู่ที่ด้ามจับ หรือด้านบนของดอกสว่าน มีประโยชน์มากเมื่อไหร่ก็ตามที่ดอกสว่านอาจติดขัด ดังนั้น คุณสมบัติที่มีประโยชน์นี้จึงค่อนข้างสำคัญในขณะที่เลือก สว่านไฟฟ้า เนื่องจากจะทำให้ดอกสว่านใช้งานได้หลากหลายมากขึ้น ฟังก์ชันย้อนกลับนี้จะช่วยให้คุณไขสกรูที่ยึดแน่นได้นั่นเอง 

สายไฟ

สว่านไฟฟ้า จะเคลื่อนที่ได้น้อยกว่าสว่านไร้สายเนื่องจากต้องใช้สายไฟถึงเต้ารับไฟฟ้า หากเต้ารับอยู่ห่างจากงานมากเกินไป คุณจะต้องใช้สายไฟต่อเพื่อยืดระยะของ สว่านไฟฟ้า ตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณได้ใช้สายไฟต่อแบบมาตรฐานสำหรับงานเจาะของคุณ เนื่องจากจะต้องมีความทนทานพอที่จะรองรับเครื่องมือ

หมายเหตุ: แต่ละสายจะมีตัวอักษรที่ระบุว่าสามารถใช้ทำอะไรได้บ้าง สายไฟที่คุณใช้สำหรับ สว่านไฟฟ้าควรมีตัว “W” ในตัวอักษรสำหรับใช้งานกลางแจ้งนั่นเอง

น้ำหนัก

โดยปกติ สว่านไฟฟ้า จะมีน้ำหนักเบากว่าเมื่อเปรียบเทียบกับสว่านไร้สาย เหตุผลคือไม่มีแบตเตอรี่นั่นเอง สว่านไฟฟ้า ส่วนใหญ่สามารถรับน้ำหนักได้ตั้งแต่ 1-2 กิโลกรัม ในขณะที่ สว่านไฟฟ้า ระดับสูงจะมีน้ำหนักประมาณ 2-3 กิลโลกรัม ดังนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องพิจารณาในขณะที่ใช้ สว่านไฟฟ้า เป็นเวลานาน เพื่อให้ทราบว่าคุณสามารถรับน้ำหนักได้อย่างง่ายดาย หรือไม่

ด้วยเหตุผลนี้ สว่านไฟฟ้า ที่หนักกว่าหลายแบบจึงมาพร้อมที่จับเสริม ซึ่งช่วยให้คุณจับสว่านได้ด้วยมือทั้งสอง จึงกระจายน้ำหนักได้อย่างสม่ำเสมอ

สว่านไฟฟ้า

ความทนทาน

จำเป็นต้องตรวจสอบ สว่านไฟฟ้า เพื่อให้แน่ใจว่ามีความทนทาน และเชื่อถือได้ก่อนซื้อ เหตุผลก็คือ สว่านไฟฟ้า ที่เชื่อถือได้จะช่วยให้คุณใช้งานได้นานโดยไม่มีปัญหาใดๆเกิดขึ้น ดังนั้น ให้มองหา สว่านไฟฟ้า ที่ใช้ปลอกโลหะคุณภาพสูง และพลาสติกที่แข็งแรงสำหรับการก่อสร้าง

นอกจากนั้น ให้ตรวจสอบระยะเวลาการรับประกันที่ผู้ผลิตเสนอให้กับผลิตภัณฑ์ของตน บางรุ่นมีการรับประกัน 3 ปี ในขณะที่บางรุ่นมาพร้อมการรับประกัน 5 ปี 

คุณสมบัติอื่นๆ

นอกเหนือจากคุณสมบัติที่จำเป็นเหล่านี้แล้ว คุณสมบัติเสริมบางอย่างยังช่วยให้คุณใช้งานสว่านได้อย่างง่ายดาย ประกอบด้วยตัวล็อคไก ที่จะช่วยให้คุณใช้งานสว่านไฟฟ้าได้โดยการเอานิ้วออกจากไกปืน คุณสมบัติทั่วไปอื่นๆ ในตัวสำหรับ สว่านไฟฟ้า ได้แก่ ไฟ LED ที่ช่วยให้มองเห็น และทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ แม้ในบริเวณที่มีแสงน้อย 

ยี่ห้อ

และสุดท้าย การเลือกผลิตภัณฑ์จากยี่ห้อที่มีชื่อเสียงจะช่วยให้มั่นใจได้ว่าคุณจะได้รับผลิตภัณฑ์ สว่านไฟฟ้า ที่มีคุณภาพดีที่สุดสำหรับเงินที่คุณใช้ไป ผลิตผลิตภัณฑ์ด้วยวัสดุคุณภาพดี ที่จะช่วยในเรื่องความทนทาน และให้การควบคุมที่ดีขึ้น ดังนั้นให้ตรวจสอบรุ่น สว่านไฟฟ้า ที่มีตราสินค้าสำหรับการใช้งานหนักนั่นเอง

ข้อดีและข้อเสียของ สว่านไฟฟ้า

จำเป็นต้องรู้ข้อดี และข้อเสีย ของสว่านไฟฟ้า ก่อนตัดสินใจซื้อ ซึ่งช่วยให้คุณใช้งานต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพนั่นเอง 

ข้อดี

  • การใช้งานหนัก สว่านไฟฟ้า เชื่อมต่อโดยตรงกับเต้ารับไฟฟ้า ซึ่งมีกำลังในการป้อนมอเตอร์มากขึ้น ดังนั้นจึงให้แรงบิดมากขึ้นซึ่งเหมาะสำหรับงานหนัก
  • กำลังมอเตอร์ สว่านไฟฟ้า มีมอเตอร์ที่แข็งแรงกว่าซึ่งให้กำลังมากกว่าเพื่อให้งานเสร็จสมบูรณ์ได้ง่ายและรวดเร็ว เมื่อเทียบกับสว่านไร้สาย
  • การพกพา ตัวเครื่องบาง กะทัดรัด และน้ำหนักเบา (ต้องไม่เกิน 4 กิโลกรัม) ทำให้ง่ายต่อการพกพาไปยังที่ทำงานของคุณ และยังเหมาะกับงานเล็กๆ อีกด้วย
  • ใช้งานง่าย เช่นเดียวกับรุ่นไร้สาย ไม่จำเป็นต้องชาร์จใหม่หรือเปลี่ยนแบตเตอรี่ใน สว่านไฟฟ้า สิ่งที่คุณต้องมีคือเพียงแค่เสียบเครื่องมือ และเริ่มใช้งาน ซึ่งค่อนข้างใช้งานง่าย
  • ประหยัดต้นทุน สว่านไฟฟ้า มีราคาไม่แพง และสามารถซื้อได้ในราคาที่ถูกกว่าสว่านไร้สาย 40% – 50% อีกด้วย

ข้อเสีย

  • ความคล่องแคล่ว สว่านไฟฟ้าจะไม่คล่องตัวเหมือนสว่านไร้สาย เนื่องจากความยาวของสายไฟจำกัด ทำให้ในบางครั้งจะไม่สะดวกต่อการใช้งานนั่นเอง
  • ต้องใช้เต้ารับไฟฟ้า จะไม่ทำงานในพื้นที่ห่างไกลที่ไม่มีเต้ารับไฟฟ้า /แหล่งจ่ายไฟ
สว่านไฟฟ้า

เคล็ดลับการใช้งาน และการบำรุงรักษา สว่านไฟฟ้า

จำเป็นต้องดูแลและบำรุงรักษาเครื่องมือไฟฟ้าอย่างเหมาะสมเพื่อเพิ่มความทนทาน ความน่าเชื่อถือ และอายุการใช้งานที่ยาวนาน ต่อไปนี้คือคำแนะนำในการใช้งาน และการบำรุงรักษาที่ต้องปฏิบัติตามขณะใช้งาน สว่านไฟฟ้า

  • อย่าลืมสวมแว่นตา ที่อุดหู และถุงมือขณะใช้งาน สว่านไฟฟ้า เพื่อเป็นอุปกรณ์ป้องกัน
  • หล่อลื่นโลหะและดอกสว่านด้วยน้ำมันขณะเจาะผ่านโลหะเพื่อการเจาะที่ง่ายและรวดเร็ว
  • หากคุณสังเกตเห็นว่าดอกสว่านร้อนขึ้น ให้หยุดงานทันทีและให้เวลาสักครู่เพื่อทำให้ดอกสว่านเย็นลง
  • เพื่อยืนยันว่าขันเจาะยึดเป็นแนวตรง คุณต้องขับทำมุมตั้งฉากกับพื้นผิวการเจาะ
  • ใช้ดอกสว่านที่เล็กกว่าสกรูเพื่อป้องกันการสร้างรูที่ใหญ่เกินไป 
  • นิยมใช้แรงบิดที่ต่ำกว่าเสมอ เพื่อป้องกันไม่ให้สกรูหลุด
  • หากเกิดควันขึ้นจากหลุมขณะเจาะ ซึ่งแสดงว่าเจาะหนักเกินไปหรือดอกสว่านทื่อ ตรวจสอบ และดำเนินการที่จำเป็น
  • หลีกเลี่ยงการใช้ดอกสว่านหลังจากที่คุณสังเกตเห็นสัญญาณการสึกหรอครั้งแรก เพื่อความปลอดภัย และประสิทธิภาพของคุณ
  • ในการล้างเศษ คุณต้องดึงดอกสว่านออกจากรูเป็นประจำ มีประโยชน์อย่างยิ่ง เมื่อเจาะวัสดุแข็ง เช่น ไม้เปียก หรือเมเปิ้ล
  • ใช้สายไฟต่อเพื่อให้ได้พลังงานเพียงพอกับ สว่านไฟฟ้าโดยไม่ทำให้กำลังไฟฟ้าตก และทำให้มอเตอร์เกิดความเสียหายในขณะทำงานห่างจากเต้ารับไฟฟ้า

Cr. https://toolmartonline.com/powertools/9-คุณสมบัติของสว่านไฟฟ้า-ที่คุณต้องรู้ก่อนใช้งาน/


Categories
บทความ

เลื่อย เครื่องมือพื้นฐานประจำบ้าน มีกี่แบบใช้งานอย่างไร มาดูกัน

เลื่อย เครื่องมือพื้นฐานประจำบ้าน

เลื่อย (SAW) เป็นเครื่องมือพื้นฐานสำหรับงานช่างในบ้าน ใช้ตัดหรือซอยชิ้นงานให้ได้ขนาดตามต้องการ ปัจจุบันมีให้เลือกมากมายหลายชนิด ดังนั้นการเลือกซื้อเลื่อยให้เหมาะสมกับงาน จึงเป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม ในทีนี้ขอกล่าวถึงเฉพาะ เลื่อยที่นิยมใช้งานกันทั่วไปนะคะ

 
 
 
 
 
 

1. เลื่อยลันดา (Hand Saw)

 

เลื่อยลันดาเป็นเลื่อยชนิดที่เราคุ้นเคยและเห็นบ่อยที่สุด เป็นเลื่อยที่มีมือจับตอนโคน มีขนาด 22 นิ้ว และ 24 นิ้ว ใช้สำหรับงานตัดไม้ ตัดขวางเนื้อไม้ เพื่อให้เกิดรอยตัดที่เรียบ หรือตัดตามแนวยาวของเนื้อไม้ ใบเลื่อยทำมาจากใบเหล็กสปริงแผ่นบางปลายเรียว โดยมีความยาวของใบเลื่อยให้เลือกใช้งานตั้งแต่ 14-28 นิ้ว ตามขนาดของหน้าตัดของไม้

 
 
 
 
 
 

2. เลื่อยลอ (Dovetail Saw)

 

เลื่อยลอ เป็นเลื่อยที่ทำด้วยเหล็กแบนบางแต่แข็งมีลักษณะคล้ายเลื่อยสันแข็ง ต่างกันที่ด้ามจับซึ่งเป็นด้ามยาว เลื่อยลอมีหน้าที่ บากปากไม้เพื่อทำเดือยเข้าไม้แบบต่างๆ และงานไม้ที่ต้องการความปราณีตเป็นพิเศษ ฟันเลื่อยมีทั้งชนิดหยาบและละเอียด ใบเลื่อยกว้าง 2.5 นิ้ว ความยาว 8 นิ้ว , 10 นิ้ว และ  12 นิ้ว

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

3. เลื่อยฉลุ (Coping Saw)

 

เลื่อยฉลุ นิยมใช้ทำงานประดิษฐ์ต่างๆของนักเรียน หรือ ช่างฉลุงานไม้ เหมาะสำหรับงานตัดโค้ง ทำลวดลาย ที่ต้องใช้ความปราณีต เวลาใช้งานต้องขึงใบเลื่อยกับด้ามและคันเลื่อยให้ตึง ใบเลื่อยมีขนาดค่อนข้างเล็กมากเหมือนเส้นลวด มีความอ่อนตัว เหมาะกับชิ้นงานที่มีขนาดไม่ใหญ่ ไม่หนา มากนัก

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

4. เลื่อยตัดเหล็ก (Hack Saw)

 
 

เลื่อยตัดเหล็ก เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการตัดเหล็ก มีลักษณะคล้ายเลื่อยฉลุ แต่

 

คันเลื่อยโค้งไม่มาก การใช้งานส่วนใหญ่จะใช้ตัดโลหะทั่วไป อาทิ ตะปู น็อต สกรู เหล็กฉาก หรือ ท่อพีวีซี ใบเลื่อยมีลักษณะเป็นแถบยาว ปลายใบเลื่อยทั้ง 2 ข้าง ติดกับปลายและโคน คันเลื่อย ขนาดยาวตามมาตรฐาน 12 นิ้ว เหมาะสำหรับที่มีพื้นที่จำกัด สามารถเปลี่ยนใบเลื่อยได้

 
 
 
 
 
 

5.เลื่อยหางหนู (Wall board Saw)

 

เลื่อยหางหนู หรือ เลื่อยฉลุฝ้า ใช้เลื่อยชิ้นงานเป็นแนวโค้ง หรือวงกลมและลวดลายต่างๆ ใช้งานได้ทั้งภายในและภายนอกสามารถใช้เจาะฝ้าหรือผนังยิปซั่มได้ ใบเลื่อยมีขนาดเล็ก โคนใหญ่มีมือจับ ปลายใบเลื่อยเรียว แหลม เล็ก สามารถถอดเปลี่ยนใบเลื่อยได้ นอกจากนี้ยังประยุกต์เป็นเครื่องมือตัดแต่งกิ่งไม้ที่เลื่อยขนาดใหญ่เข้าไม่ถึงได้อีกด้วย

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

6.เลื่อยคันธนู (Bow Saw)

 

เป็นเลื่อยที่มีลักษณะคล้ายคันธนู เหมาะสำหรับใช้เลื่อยตัดกิ่งไม้ทั้งไม้สดและแห้งหรือตัดต้นไม้เป็นท่อนๆเพื่อการเคลื่อนย้ายสำหรับงานก่อสร้าง ใบเลื่อยผลิตจากเหล็กกล้าและชุบแข็งที่ฟันเลื่อย จึงมีความคมและแกร่งเป็นพิเศษ สามารถตัดชิ้นงานได้ทั้งจังหวะเลื่อยขึ้นและลง โดยมีให้เลือกหลายขนาด อาทิ 12 นิ้ว21 นิ้ว24 นิ้วหรือ 30 นิ้ว

 
 
 
 
 
 
 
 

7.เลื่อยโค้งตัดกิ่งไม้ (Pruning Saw)

 
 
 

ใช้ตัดแต่งกิ่งไม้ ตัดก่อไผ่ ฯลฯ ด้วยลักษณะความโค้งของคมเลื่อยและฟันเลื่อย จึงทำงานได้อย่างสะดวกรวดเร็ว นอกจากนี้ยังสามารถตัดแต่งกิ่งไม้ในที่สูงได้ โดยต่อด้ามเลื่อยเข้ากับลำไม้ไผ่ แค่นี้เราก็ไม่ต้องปีนต้นไม้ให้เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุอีกด้วย

Cr. https://www.indyinsights.info/post/เล-อย-เคร-องม-อพ-นฐานประจำบ-าน-ม-ก-แบบใช-งานอย-างไร-มาด-ก-น